วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวในอียิปต์



วิหารลักซอร์ (Luxor Temple)วิหารลักซอร์สร้างโดยฟาโรห์อเมโนฟิสที่3 พระองค์ทรงสร้างวิหารแห่งนี้พร้อมกับการบูรณะต่อเติมวิหารคาร์นักไปด้วย หากนับวิหารถึงปัจจุบันจะมีอายุรวม 3,400 ปี วิหารได้รับการปฏิสังขรณ์สานต่อจากฟาโรห์องค์ต่อมาหลายพระองค์ แต่ที่เด่นที่สุดจนวิหารแห่งนี้ดูสมบูรณ์แบบสวยงามนั้นเป็นฝีมือของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่นี่เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองเพื่อการพักผ่อนของเทพอะมอนราและครอบครัวคือเทวีมัตและเทพคอนส์หรือคอนชู หน้าวิหารมีเสาโอเบลิสก์ตั้งโดดเด่น 1 ต้น เป็นสัญลักษณ์ควบคู่วิหารแห่งนี้ให้ความรู้สึกแข็งแกร่ง เข็มแข็ง มั่นคง มีความหมายถึงชีวิต ความสว่างและความรุ่งโรจน์ ปกติแล้วมักจะนิยมวางเสานี้เป็นคู่ แต่ปัจจุบันอีกต้นถูกนำไปตั้งไว้ที่ปลาซเดอลาคองคอร์ด กลางกรุงปารีส เพื่อเป็นของขวัญแก่ประเทศฝรั่งเศสในสมัยของโมฮาเหม็ด อาลี ดาชา (Mohamed Ali Dasha) เมื่อปี ค.ศ. 1819 ประตูทางเข้าสู่วิหารมีรูปสลักลอยตัวของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ประทับนั่งทั้งสองข้าง หลังกำแพงเป็นห้อง Great Court ของรามเสสที่ 2 มีห้องบูชาเทพอะมอนราและครอบครัว และถูกประดับด้วยเสาคู่เรียงราย  เดิมทีบริเวณนี้ถูกทิ้งร้างและมีดินทรายทับถมมานานหลายศตวรรษ ผู้คนไม่ได้ให้ความสำคัญ จึงมีชาวมุสลิมเข้ามาอยู่อาศัยหุงหาอาหารก่อไฟในห้องหับของวิหาร ก่อให้เกิดเขม่าดำบนเพดานของวิหาร ต่อมาได้มีการสร้างมัสยิดทับอยู่ด้านบนด้วยความไม่รู้ว่าข้างล่างคือเขตวิหาร จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1885 จึงได้มีการเคลื่อนย้ายคนออกไป แต่มัสยิดนั้นย้ายไม่ได้จนถึงถึงปัจจุบันนี้
วิหารคาร์นัก (Great Temple of Karnak) : มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดและสวยงามที่สุดของอียิปต์
 มหาวิหารคาร์นัก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลักซอร์ 3 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่เทพเจ้าอะมอนรา (สุริยะเทพ) และเพื่อเป็นสถานที่จัดพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อของอียิปต์โบราณ  คาร์นักเป็นชื่อหมู่บ้านของเทพอะมอน เดิมชื่อเมืองวาเซ็ต แล้วต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนครธีบส์ เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรไอยคุปต์มาตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 11 จนถึงราชวงศ์ที่ 21 รวมเวลานับ 1,000 ปี (2120-1085 ปีก่อนคริสตกาล) และกลับมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งเป็นเวลา 50 ปี ในราชวงศ์ที่ 25 (716-666 ปีก่อนคริศตกาล)
วิหารคาร์นักสร้างโดยฟาโรห์เซซอสตริสที่1 ( Sesostris I ) และอีกหลายพระองค์ต่อมา ซึ่งอยู่ในสมัยยุคกลาง หลักฐานเก่าแก่ที่สุดอยู่ในหมู่วิหารของเทพอะมอนรา คือห้องบูชาและห้องแท่นบูชาเรือศักดิ์สิทธิ์ของเทพอะมอนรา ที่สร้างโดยฟาโรห์เซซอสตริสที่ 1 (Sesostris I) ต่อมาได้รับการต่อเติมปฏิสังขรณ์ขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆทุกยุค วิหารแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของชาวอียิปต์โบราณ เทพเจ้าอะมอนราก็เป็นสุริยะเทพอันยิ่งใหญ่และเป็นเทพประจำเมืองนี้มาโดยตลอด
ช่วงราชวงศ์ที่ 18 - 20 มีการบูรณะวิหารแห่งนี้มากที่สุด และบูรณะต่อเนื่องมาจนถึงยุคโรมันเข้ามาครอบครอง จนกระทั้งกลายเป็นวิหารที่มีอาคารมากมายกว้างขวางและใหญ่โตที่สุดในโลก วิหารคาร์นักแบ่งได้ 3 ส่วน คือ วิหารเทพอะมอนรา อยู่ตรงกลาง ประกอบด้วยหมู่สถาปัตตยกรรมของเหล่าฟาโรห์หลายยุค ส่วนที่สองอยู่ทางทิศเหนือ คือวิหารเทพมอนตู (Montu) เทพองค์นี้เคยเป็นเทพประจำถิ่นนี้มาก่อนเป็นสัญลักษณ์แห่งการรบของฟาโรห์และเทวีมะอัต(Maat) ส่วนที่สามคือ วิหารเทวีมัต (Mut) ทางด้านใต้ของวิหารอะมอนรา มีทางเชื่อมต่อถึงกันสองข้างทางประกอบด้วยสฟิงซ์กัวแกะนั่งเฝ้าตลอดทาง ด้วย สองข้างทางเข้าสู่กำแพงชั้นที่ 1 ประดับด้วยสฟิงซ์หัวแกะ ส่วนต้นทางมีเสาโอเบลิสก์ขนาดเล็กของฟาโรห์เซติที่ 2 ฟาโรห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 19 ตั้งอยู่ ความหมายของเสาโอเบลิสก์ก็คือชีวิตรุ่งโรจน์และความสว่าง เพื่อบูชาสรรเสริญเทพเจ้ารา ก่อนเข้ากำแพงชั้นที่ 2 มีรูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ยืนเฝ้าสองข้าง และมีเสาขนาดมหึมาใหญ่กว่าทุกที่ในอียิปต์ แกะสกัดจากหินทรายเป็นท่อนต่อกัน รอบเสาประกอบด้วยภาพแกะสลัก เป็นรูปภารกิจของฟาโรห์ทั้งเรื่องศาสนาและเรื่องสงคราม ระหว่างกำแพงชั้นที่ 3 และชันที่ 4 เรียกว่าเซ็นทรัลคอร์ต (Central Court) เป็นของตระกูลธุตโมซิสแห่งราชวงศ์ที่ 18 คือธุสโมซิสที่ 1 ผู้พ่อ ธุสโมซิสที่ 2 ผู้ลูก และธุสโมซิสที่ 3 ผู้หลาน ได้สร้างเสาโอเบลิสก์ตั้งไว้บริเวณนี้ 4 ต้น แต่ปัจจุบันเหลือแค่ต้นเดียว เป็นของธุสโมซิสที่ 1 สร้างด้วยหินแกรนิตสีชมพูที่เอามาจากเมืองอัสวาน (Aswan) ระหว่างกำแพงชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ก็ยังเป็นผลงานของตระกูลธุสโมซิส มีเสาแท่งสี่เหลี่ยมตั้งคู่ ทำด้วยหินแกรนิตสีชมพูและแกะสลักอย่างประณีต นับว่าเป็นสุดยอดงานฝีมือแกะสลักของช่างสมัยนั้น และเป็นสัญลักษณ์ของสองอาณาจักรที่ฟาโรห์แห่งราชวงศ์นี้ปกครองอยู่คือ เสารูปดอกปาปิรัสอันหมายถึงอาณาจักรล่าง (Lower Egypt) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนอีกเสาวางคู่กันแต่อยู่ทางทิศใต้ถูกสลักเป็นรูปดอกลินลี่ (Lily) ที่สวยงามหมายถึงอาณาจักบน (Upper Egypt) บริเวณที่หัวมุมของสระน้ำใกล้กับซากเสาโอเบลิสก์ มีอนุสาวรีย์รูปแมลงตัวสแค-รับ (Scarab) ซึ่งเป็นแมลงนำโชค หากจะอธิฐานขอพรในสิ่งที่ดีๆ ให้ดินวนถึง 7 รอบ ตัวแมลงที่ว่าคือลักษณะคล้ายตัวปีกแข็ง แม้ว่ามันจะอยู่ตามใต้ก้อนหินหรือท่อนไม้นานๆ ก็ไม่ตาย ซึ่งหมายถึงการมีอายุยืน ชาวอียิปต์โบราณจึงใช้เครื่องรางหมายถึงการมีอายุยืนเป็นเครื่องรางที่เทียบเท่ากับเทพเจ้าเคปริ (Khephri)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น