วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์


สาธารณรัฐฟินแลนด์


ประเทศฟินแลนด์ (Finland) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของ
รัสเซีย

ฟินแลนด์มี ประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งใน ภาษาราชการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา


ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นเมือง

         มีการค้นพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศฟินแลนด์ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีช่วงปลายยุคน้ำแข็ง   ช่วงก่อนคริสตกาลบรรพบุรุษของชาวฟินแลนด์เคยแผ่อาณาเขตไปถึงดินแดนทางตอนเหนือของประเทศรัสสเซียครึ่งหนึ่ง ก่อนจะขยายอาณาเขตมาทางตอนเหนือของทะเลบอลติก ช่วงปลายของยุคไวกิ้ง พ่อค้าชาวสวีเดนและบรรดาหัวหน้าชนเผ่าต่างๆได้เข้ามาทำการค้าขายในแถบทะเลบอลติก  หลังจากนั้นอีกหลายร้อยปีที่บรรพบุรุษของชาวฟินด์แลนด์ต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มั่นคง เนื่องการป้องกันตนเองจากการครอบครองของอาณาจักรสวีเดนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปแตสแตนท์ และจักรวรรดิรัสเซียที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์  ราวศตวรรษที่สิบสองจนถึงปีคริสต์ศักราช1809(พุทธศักราช2352ประเทศฟินแลนด์ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสวีเดน   ยาวนานถึงเจ็ดร้อยปี ประเทศฟินแลนด์ต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ในช่วงปีคริสต์ศักราช 1696ถึง1697หนึ่งในสามของประชากรต้องเสียชีวิตลงเพราะความอดอยาก   ช่วงทศวรรษปี1700  ประเทศก็ต้องเผชิญกับการทำสงครามกับรัสเซีย ประมาณปีคริสต์ศักราช1809(พุทธศักราช 2352) ก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย   พอถึงช่วงกลางของศตวรรษที่19 กระแสความรู้สึกรักชาติแผ่กระจายไปทั่วท่ามกลางประชาชนที่ต้องการเป็นอิสระจากการปกครองของประเทศรัสเซีย  ความต้องการมีเอกราชเป็นของตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากการเสื่อมอำนาจของพระเจ้าซาร์และประเทศรัสเสียมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปีคริสต์ศักราช1917   สภาสูงมีมติให้ประเทศฟินแลนด์ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1917(ปีพุทธศักราช2450) แต่ความรุนแรงในประเทศกลับประทุขึ้นเมื่อเมื่อประเทศรัสเซีย
เมืองหลวง

เมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1550 โดยกษัตริย์กุสตาฟ วาชา แห่งสวีเดน เมื่ออดีตเฮลซิงกิไม่ใช่เมืองหลวงของฟินแลนด์ (เมืองหลวงเก่าคือตรูกู เมื่อครั้งตกเป็นเมืองขึ้นของสวีเดน ปีคศ.1809 -1812) เฮลซิงกิมาเป็นเมืองหลวงของฟินแลนด์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1812 ในสมัยที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย ทำให้เฮลซิงกิเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ทำให้ในเฮลซิงกินั้นเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่งดงามและสถาปัตยกรรม ร่วมสมัย อีกทั้งทำเลที่ตั้งยังอยู่ท่ามกลางหมู่เกาะมากมายในทะเลบอลติก ทำให้ เฮลซิงกิได้รับฉายาว่าเป็น ธิดาแห่งทะเลบอลติกและในปีค.ศ. 2000 ที่ผ่านมา เฮลซิงกิยังได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมของยุโรปด้วยคำขวัญที่ว่า “Helsinki The high tech city where culture meets nature”



หลังจากเฮลซิงกิถูกตั้งเป็นเมืองหลวง เฮลซิงกิก็ถูกแปรสภาพจากเมืองเล็กๆที่มีประชากรเพียง 4,000 คนเป็นศูนย์กลางการปกครองของฟินแลนด์ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คาร์ล ลุดวิก เองเกล ชาวเยอรมัน ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกใหญ่ในโครงการสร้างเมืองใหม่นี้ ศูนย์กลางของแผนอยู่ที่จัตุรัสวุฒิสภา (Senaatintori; Senatstorgot) ซึ่งมีขนาดใหญ่รองรับคนได้หลายหมื่นคน สิ่งก่อสร้างสำคัญบริเวณจัตุรัสนี้คือมหาวิหาร (ในอดีตเรียกโบสถ์นิโคลัส) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัส ทางทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นทำเนียบรัฐบาลและอาคารหลักของมหาวิทยาลัยตามลำดับ อาคารสองหลังนี้มีขนาดใกล้เคียงกัน ทำเนียบรัฐบาลมีเสาหินแบบคอรินเธียน ในขณะที่อาคารมหาวิทยาลัยเป็นแบบไอออนิก สิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้เป็นผลงานของเองเกล เช่นเดียวกับสิ่งก่อสร้างอีกหลายแห่ง อาคารที่มีชื่อเสียงของเองเกลอีกแห่งหนึ่งคือห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกย่องในเรื่องความงดงาม อิทธิพลของรัสเซียอีกอย่างหนึ่งคือโบสถ์ออร์โธดอกซ์ ซึ่งแห่งที่สำคัญของเฮลซิงกิคือมหาวิหารอุสเปนสกี ก่อสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2405-2411

เฮลซิงกิยังมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (
Jugenstil) โดยมีสถาปนิกคนสำคัญคือเอเลียล ซาริเนน ในช่วงแรกซาริเนนร่วมงานกับสถาปนิกอีกสองคนในบริษัท Gesellius, Lindgren & Saarinen ผลงานที่สำคัญในเฮลซิงกิคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ออกแบบในปีพ.ศ. 2445 ผลงานสำคัญของซาริเนนอีกอย่างหนึ่งคือสถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ
อาคารรัฐสภา (
Eduskuntatalo) เป็นผลงานนีโอคลาสสิกชิ้นสำคัญของฟินแลนด์ยุคหลังประกาศเอกราช ออกแบบโดยโยฮัน ซิกฟริด ซิเรน ในปีพ.ศ. 2467 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2474 ภายหน้าอาคารเป็นเสาหินแบบคอรินเธียน 14 ต้น

สถาปัตยกรรมแบบประโยชน์นิยม (อังกฤษ:
 
functionalism) ได้รับความนิยมในฟินแลนด์ยุคใหม่ อัลวาร์ อาลโต เป็นสถาปนิกชาวฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ โดยมีสิ่งก่อสร้างในเฮลซิงกิคือหอฟินแลนเดีย
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป
ทิศเหนือติดนอร์เวย์
ทิศตะวันตกติดสวีเดน
ทิศตะวันออกติดรัสเซีย
ทิศใต้ ติดกับเอสโตเนีย 
โดยมีทะเลบอลติกกั้นอยู่

พื้นที่
338,145 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ

ฟินแลนด์ เป็นประเทศที่มีทะเลสาบและเกาะเป็นจำนวนมาก โดยมีทะเลสาบถึง187,888 แห่ง (ที่มีเนื้อที่มากกว่า 500 ตารางเมตร) และมีเกาะถึง 179,584 เกาะ โดยทะเลสาบไซมา ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของยุโรป ภูมิประเทศทั่วไปของฟินแลนด์มีลักษณะเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขามากนัก จุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาฮัลติ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตแลปแลนด์ โดยมีความสูง 1,328 เมตร นอกจากทะเลสาบแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ปกคลุมด้วยป่าสน และมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนัก ฟินแลนด์มีเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บริเวณหมู่เกาะโอลันด์ และตลอดแนวชายฝั่งทางใต้ในอ่าวฟินแลนด์ ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการยกตัวของแผ่นดินที่มีผลมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย


ภูมิอากาศ

ภูมิ อากาศทางตอนใต้ของฟินแลนด์เป็นแบบเขตอบอุ่น ทางตอนเหนือ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดแลปแลนด์ มีภูมิอากาศแบบป่าสนหรือกึ่งอาร์กติก ซึ่งโดยทั่วไปจะหนาวเย็น มีฤดูหนาวที่รุนแรงในบางครั้ง และมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างอบอุ่นโดยเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเพราะอยู่ใกล้มหาสมุทร แอตแลนติก ทำให้มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับละติจูดที่อยู่สูงมาก
เนื้อที่ ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว



ประชากร
5.29 ล้านคน

เชื้อชาติ
Finnish 93.4% Swedish 5.7% Russian 0.4%

ภาษา

ใช้ภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษา Finnish และ ภาษา Swedish
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (นิกาย Lutheran 84.2% นิกาย Orthodox 1%)

สกุลเงิน
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ฟินแลนด์ได้เปลี่ยนจากการใช้เงินสกุลฟินมาร์ก หรือMarkka -FIM มาเป็นเงินยูโร(euro)เช็คอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก
ระบบไฟฟ้า: 
ที่ประเทศฟินแลนด์มีระบบไฟฟ้าเป็นแบบ 230 โวลต์ ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่จะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปด้วย จะต้องเตรียมเครื่องแปลงไฟฟ้า (Adapter) ไปด้วย

ระบบโทรศัพท์: 
รหัสโทรศัพท์ของประเทศฟินแลนด์คือ +358 ท่านสามารถโทรกลับเมืองไทยได้โดยการใช้บัตรโทรศัพท์ หรือ ใช้โทรศัพท์ของทางที่พักในฟินแลนด์ของท่านในการโทรออก ก็ได้เช่นกัน

วันชาติ
6 ธันวาคม

ระบบการเมือง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Republic)

สหภาพยุโรป
ฟินแลนด์ ได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และรับหน้าที่เป็นประธานสหภาพยุโรปครั้งแรกระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม2542 และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2549 โดยในช่วงเป็นประธานสหภาพยุโรป ฟินแลนด์ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเชีย-ยุโรป ระดับผู้นำครั้งที่ 6 (ASEM 6) ที่กรุงเฮลซิงกิ เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2549

นโยบายต่างประเทศของฟินแลนด์

นับ ตั้งแต่ฟินแลนด์ได้รับเอกราชจนถึงก่อนสิ้นยุคสงครามเย็น การดำเนินโยบายต่างประเทศของฟินแลนด์จะดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลทาง ด้านที่ตั้งและภูมิรัฐศาสตร์(geopolitics) ของประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากฟินแลนด์ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและรัสเซีย ซึ่งฟินแลนด์มีพรมแดนติดต่อกับรัสเซียเป็ระยะทางยางถึง 1,270 กิโลเมตร (800 ไมล์)สภาวะทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวมีผลให้ฟินแลนด์จำเป็นต้องดำเนินนโยบายต่าง ประเทศเป็นกลางอย่างเคร่งครัด (neutrality) เนื่องจาก ฟินแลนด์ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและมีขีดความสามารถป้องกันตนเอง จำกัด ฟินแลนด์จึงไม่ต้องการเป็นยุทธภูมิของการสู้รบระหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่าย ตะวันออก และไม่ต้องการให้มีการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโลกโดยวิธีทางการทหารและไม่ประสงค์นำประเทศเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ ดังนั้น นโยบายความเป็นกลางจึงเป็นแนวทางในการปกป้องเอกราชของฟินแลนด์ในช่วงเวลาดัง กล่าว บทบาทของฟินแลนด์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศเริ่มเด่นชัดขึ้นภายหลังการ สิ้นสุดยุคสงครามเย็น โดยนโยบายความเป็นกลางของฟินแลนด์ได้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นการปรับนโยบายให้เข้ากับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง คือ ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และระบบเศรษฐกิจเสรี ฟินแลนด์ได้พยายามเสริมสร้างบทบาทของตนเองให้มีความสำคัญมากขึ้นในเวที ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรป ซึ่งฟินแลนด์ต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบความมั่นคงในรูปแบบใหม่ของ ยุโรป ที่พยายามรวมตัวกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคม เชื้อชาติ และภัยคุกคามต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ใช้ความรุนแรงซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ระยะยาวในด้าน ความมั่นคงของฟินแลนด์เองที่จะทำให้ภูมิภาคยุโรปไม่กลับคืนไปสู่สภาวะแห่ง การแบ่งแยกออกเป็นเขตผลประโยชน์ และเขตอำนาจต่าง ๆ ดังเช่นที่อดีตผ่านมา


อาหารท้องถิ่น:
เมื่อไปฟินแลนด์ จะต้องลองไปชิมอาหารพื้นเมืองขนานแท้ของประเทศเขากันให้ได้ ได้แก่ เนื้อกวางเรนเดียร์ปรุงอาหารในแบบต่างๆ หรือจะเป็น พายคาเรเลีย(Karjalanpiirakka) ก็แสนจะอร่อย ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขตคาเรเลียทางตะวันออกของฟินแลนด์ ทั้งหมดนี้ ท่านจะหาทานได้จากร้านอาหารตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ หรือภัตตาคารของโรงแรม ใน ฟินแลนด์ ที่ท่านเข้าพักได้ 


แหล่งช้อปปิ้ง:
สถานที่ช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงของเมืองเฮลซิงกิ คือ Rautarientori Road เป็นที่ที่นักช้อปตัวจริงไม่ควรพลาด เพราะมีทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆมากมาย ซึ่งห้างที่ใหญ่ที่สุดของถนนสายนี้ชื่อว่า Stockmann นอกจากนั้น อย่าลืมแวะซื้อของฝากจากชาวแลปป์ อาทิ หนังกวางเรนเดียร์ และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากกวาง ตลอดจนสินค้าพื้นเมืองของฟินแลนด์กันด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว 
น้ำพุธิดาแห่งทะเลบอลติก
    เฮลซิงกิ ถึงจะเป็นเมืองหลวงแต่ก็ไม่ได้มีขนาดพื้นที่ของเมืองใหญ่โตมากมายนัก กลับเป็นเมืองขนาดกะทัดรัดที่มีเสน่ห์ มีชีวิตชีวาน่าเที่ยวชม ผู้คนมีอัธยาศัยมิตรไมตรีที่ดีงาม การเดินทางภายในเมืองสะดวกสบายและยังเป็นจุดผ่านไปยังเมืองของประเทศอื่นๆ ได้ง่ายด้วย ซึ่งการเที่ยวเฮลซิงกินั้นใช้เวลาไม่มากก็สามารถเที่ยวได้ทั่วเมือง ซึ่งภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและน่าสนใจให้เที่ยวชมมาก มาย อย่างที่จะขอพาไปเที่ยวกันก็มีอยู่หลายสถานที่ด้วยกัน
     
       เอาเป็นว่าตามมาเที่ยวกันเลยดีกว่า โดยสถานที่แรกขอพามาเที่ยวที่ น้ำพุธิดาแห่งทะเลบอลติก” (Havis Amanda) ถือว่าน้ำพุแห่งนี้เป็นสัญลักษ์ของเมืองเฮลซิงกิ และเป็นที่มาของฉายานาม ธิดาแห่งทะเลบอลติกด้วย ซึ่งน้ำพุนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1908 และได้รับการออกแบบโดย นายวิลเลย์วาเกน โดยได้ทำการปั้นรูปปั้นสาวงามว่าให้นางเป็นตัวแทนของเฮลซิงกิ ส่วนบอลติกก็คือคาบสมุทรเมืองนี้ตั้งอยู่นั่นเอง
     
       นอกจากน้ำพุแห่งนี้จะเป็นที่นิยมของการมาถ่ายรูปคู่ด้วยแล้ว ก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับน้ำพุแห่งนี้ด้วยว่า สาวงามผู้นี้ยังเป็นตัวแทนเสี่ยงทายสำหรับนักเรียนและนักศึกษา ที่ว่ากันว่าว่าหากใครสามารถโยนหมวกขึ้นไปสวมบนศรีษะของสาวงามได้ ก็จะมีอนาคตทางหน้าที่การงานที่เจริญก้าวหน้า


 เซเนท สแควร์ (Senate Squre) 

จตุรัสกลางเมืองที่ใช้จัดกิจกรรมใหญ่ ๆ กลางจตุรัสมีอนุสาวรีย์พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ ถัดไปด้านบนเป็น โบสถ์เฮลซิงกิ เด่นตระหง่านตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมรัสเซีย เนื่องจากถูกปกครองด้วยรัสเซียมานานถึง 100 ปี เดินทะลุตรงจากหน้าจัตุรัสลงมาไม่กี่อึดใจก็จะถึง มาร์เก็ต สแควร์





โบสถ์เทมเปลิโอคิโอ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม โบสถ์หิน (Rock Church) 

แต่เดิมเป็นภูหินแกรนิตใหญ่ที่ตั้งเกะกะอยู่กลางเมือง เกือบจะถูกระเบิดทิ้งอยู่รอมร่อ โชคดีที่มีการระดมความเห็นเสนอให้ก่อสร้างเป็นโบสถ์ จนกลายเป็นสถานที่ขึ้นชื่อมาจนทุกวันนี้ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่มักจะเดินทางมาประกอบพิธีสมรสกันที่นี่ อาจจะเป็นเพราะลักษณะโบสถ์แห่งนี้เก๋ไก๋ด้วยดีไซน์ ผนังเป็นหินแกรนิต ด้านบนระบายโปร่งให้แสงเข้า หลังคาประดับด้วยลวดทองแดงหนา 1 นิ้ว นำมาขดเป็นวงกลมใหญ่ดูแปลกตา แต่ชวนให้หวาดเสียวไม่ได้สำหรับพวกที่ชอบสาบานให้ฟ้าผ่า
 
 



โรงแรมที่พัก


Holiday Inn Helsinki




Hotel Fabian





ที่มา

http://www.meesara.com/?p=696
http://mermaid.panphuket.com/content/สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเฮลซิงกิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น