วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวในยุโรป

พระราชวังบัคคิงแฮม (Buckingham Palace) เดิมชื่อ คฤหาสน์บัคคิงแฮม เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษ ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักรเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ
สิ่งก่อสร้างเดิมเป็นคฤหาสน์ที่สร้างสำหรับจอห์น เชฟฟิลด์ ยุคแห่งบัคคิงแฮมในปี ค.ศ. 1703 ในปี ค.ศ. 1761 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3ทรงซื้อจากดยุคแห่งบัคคิงแฮมเพื่อเป็นพระราชฐานส่วนพระองค์ ที่รู้จักกันในชื่อวังพระราชินี” (The Queen's House) ระยะ 75 ปีต่อมาเป็นเวลาที่มีการขยายต่อเติมพระราชวังโดยสถาปนิกจอห์น แนช (John Nash) และ เอ็ดเวิร์ด บลอร์ (Edward Blore) เป็นสามปีรอบลานกลาง
เป็นพระราชฐานที่ประทับอย่างเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1837 การต่อเติมครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายทำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งรวมทั้งด้านหน้าที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน บางครั้งพระราชวังบัคคิงแฮมก็เรียกกันเล่นๆ ว่า บัคเฮาส์
ภายในพระราชวังยังมีสวนที่ได้รับการตกแต่งอย่างดี เหมาะแก่การเดินชมวิวเป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญ คือ การผลัดเปลี่ยนเวร(Changing the Guard) การผลัดเปลี่ยนเวรจะมีขึ้นที่บริเวณ พระราชวังบักกิ้งแฮม โดยจะเริ่มแสดงเวลา 11.30 น . และจะใช้เวลาแสดงทั้งหมด 40 นาที แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ในวันที่มีเหตุการณ์สำคัญของเมือง หรือการผลัดเปลี่ยนเวรอาจจะงดได้ในวันที่ฝนตก

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทพเจ้าในยุคกรีก - โรมันที่ชื่นชอบ

แอฟรอไดที (อังกฤษ: Aphrodite ละติน: Venus) เป็นเทพเจ้ากรีกแห่งความรัก, ความปรารถนา, และความงาม ชื่ออื่นๆ ที่เรียก ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย (Cytherea) ตามชื่อสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีราซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เกิดของอาโฟร์ไดร์ทิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอาโฟร์ไดร์ทิได้แก่ต้นเมอร์เติล (Myrtle), นกพิราบ, นกกระจอก และ หงส์  เทพีแอฟรอไดทีทิเทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน
แอฟรอไดทีทรงเป็นเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ทั้งความรักที่บริสุทธิ์ และความรักที่เต็มไปด้วยตัณหา และความริษยา ทรงครอบครองสายคาดวิเศษที่สามารถมัดใจเทพและชายทุกคนได้ในทันที ทรงเป็นผู้ให้พรเพื่อให้ผู้มีความรักสมหวัง ในขณะเดียวกันก็ทรงสามารถที่จะทำลายความรักของผู้ที่พระนางไม่พอใจได้ในทันทีการกำเนิดของแอฟรอไดทีมีอยู่ 2 ความเชื่อ ความเชื่อแรกนั้นเชื่อว่าแอฟรอไดทีถือกำเนิดขึ้นจากฟองน้ำในมหาสมุทร และความชื่อที่สองเชื่อว่าแอฟรอไดทีเป็นบุตรีของซุสกับนางไดโอนี
คำว่า อะฟรอส ในชื่อของแอฟรอไดที หมายถึงฟองน้ำทะเล และคำว่าแอฟรอไดที ก็หมายถึง เกิดขึ้นจากฟองน้ำทะเล
เชื่อกันว่าเมื่อครั้งที่โครนอสทำการโค่นอำนาจจากยูเรนัส โครนอสได้โยนบิดาของตนเองลงในมหาสมุทร ทำให้เกิดฟองน้ำที่มีเด็กหญิงอยู่ภายในขึ้น และหลังจากเด็กหญิงผู้นั้นเติบโต เธอก็ลอยมาติดฝั่งพาฟอส ของไซปรัส โดยมีเปลือกหอยเป็นพาหนะ
อีกความเชื่อหนึ่ง เชื่อว่าแอฟรอไดทีเป็นบุตรของซุส และไดโอนีแห่งเกาะดอโดน่า และว่าไดโอนีคือมเหสีองค์แรกของซูสก่อนที่จะสมรสกับเทพีเฮรา
เทพีแอฟรอไดทีเป็นหนึ่งในเทพีที่เลื่องชื่อด้านความสัมพันธ์เชิงชู้สาวมาก พระนางได้รับบัญชาจากซุสให้สมรสกับเทพเฮเฟตัสผู้อัปลักษณ์และพิการ ซึ่งเป็นบุตรชายของซุสกับเฮรา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเทพและเทพีทั้งสองกลับไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เทพีแอฟรอไดทีทรงมีความสัมพันธ์กับเทพและชายหนุ่มมากมายที่ไม่ใช่สวามีของตนเอง จนเกิดเรื่องราวนับไม่ถ้วน
หนึ่งในชู้รักของเทพีแอฟรอไดทีทีคือเทพแอรีส เทพแห่งสงครามผู้เป็นบุตรชายอีกองค์ของซุสและเฮรา เทพเฮเฟตัสได้ดัดหลังทั้งคู่ด้วยการวางกับดักตาข่ายไว้ที่เตียงนอน เมื่อถึงเวลาเช้าที่แอรีสจะหลบออกไปจากห้องบรรทมของแอฟรอไดที ทั้งเทพแอรีสและเทพีแอฟรอไดทีจึงรู้ตัวว่าติดกับดัก และต้องทนอับอายต่อการที่ถูกเทพทั้งมวลมองดูร่างเปลือยเปล่าของทั้งคู่อยู่เป็นเวลานาน  นอกจากแอรีสแล้ว แอฟรอไดทียังมีชายชู้อีกหลายคนรวมถึง อะโดนิส และเฮอร์มีสด้วย
แอฟรอไดทีมีบุตรกับแอรีส 3 องค์ คือ
1.             อีรอส หรือ คิวปิด ผู้เป็นกามเทพ
2.             แอนติรอส ผู้เป็นเทพแห่งรักที่ไม่สมหวัง การรักตอบ และเป็นผู้ลงโทษผู้ที่ดูถูกความรัก
3.             ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี่ ผู้เป็นเทพีแห่งความปรองดอง
บุตรของแอฟรอไดทีกับเฮอร์มีส มี 1 องค์ คือ เฮอร์มาโฟรไดตุส ซึ่งเป็นเทพผู้คุ้มครองเพศที่ 3
นอกจากนี้แอฟรอไดทียังมีบุตรเจ้าชายแอนคีซีสแห่งโทรจันซึ่งเป็นมนุษย์ 1 คน คือ อีเนียส ผู้เป็นกำลังสำคัญในสงครามแห่งทรอย
แอฟรอไดทีเป็นเทพีที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องเล่า และมหากาพย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์โอดิสซีย์ และอีเลียด ตำนานดอกกุหลาบ ตำนานดอกนาซิสซา ฯลฯ
ในมหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ แอฟรอไดทีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามแห่งทรอย นางได้ทำให้ปารีสหลงรักเฮเลน ผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลกซึ่งเป็นมเหสีของกษัตริย์เมเนลาอุส ทำให้ชาวกรีกทั้งหลายมุ่งหน้าไปยังทรอยเพื่อชิงตัวเฮเลนคืนมา
ส่วนใหญ่แล้วกวีจะมอบบทบาทของหญิงสาวขี้อิจฉาที่ไร้เหตุผลให้กับแอฟรอไดที นางเป็นผู้ลบปัญหาออกจากสมองของนักปราชญ์ บันดาลให้เกิดความรักที่บ้าคลั่งและเป็นไปไม่ได้ นำความทุกข์ใหญ่หลวงมาสู่คู่รักที่นางไม่โปรดปราน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อีรอส ลูกชายของนางกับไซคี
อย่างไรก็ตามในมหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ เทพีแอฟรอไดทีเป็นเทพีที่อ่อนแอและนุ่มนวล ซึ่งไม่สามารถทนดูบุตรอานิอัสบุตรชายของตนถูกฆ่าตายในสงครามแห่งทรอยได้ จนไปขอความช่วยเหลือจากซุสเพื่อให้ซุสให้พรกับบุตรชายของนาง ซึ่งซุสก็ได้ให้พรให้อานิอัสได้เป็นบิดาของชนชาติที่จะครองโลก ซึ่งก็คือชนชาวอิตาเลี่ยน

สถานที่ท่องเที่ยวในอียิปต์



วิหารลักซอร์ (Luxor Temple)วิหารลักซอร์สร้างโดยฟาโรห์อเมโนฟิสที่3 พระองค์ทรงสร้างวิหารแห่งนี้พร้อมกับการบูรณะต่อเติมวิหารคาร์นักไปด้วย หากนับวิหารถึงปัจจุบันจะมีอายุรวม 3,400 ปี วิหารได้รับการปฏิสังขรณ์สานต่อจากฟาโรห์องค์ต่อมาหลายพระองค์ แต่ที่เด่นที่สุดจนวิหารแห่งนี้ดูสมบูรณ์แบบสวยงามนั้นเป็นฝีมือของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่นี่เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองเพื่อการพักผ่อนของเทพอะมอนราและครอบครัวคือเทวีมัตและเทพคอนส์หรือคอนชู หน้าวิหารมีเสาโอเบลิสก์ตั้งโดดเด่น 1 ต้น เป็นสัญลักษณ์ควบคู่วิหารแห่งนี้ให้ความรู้สึกแข็งแกร่ง เข็มแข็ง มั่นคง มีความหมายถึงชีวิต ความสว่างและความรุ่งโรจน์ ปกติแล้วมักจะนิยมวางเสานี้เป็นคู่ แต่ปัจจุบันอีกต้นถูกนำไปตั้งไว้ที่ปลาซเดอลาคองคอร์ด กลางกรุงปารีส เพื่อเป็นของขวัญแก่ประเทศฝรั่งเศสในสมัยของโมฮาเหม็ด อาลี ดาชา (Mohamed Ali Dasha) เมื่อปี ค.ศ. 1819 ประตูทางเข้าสู่วิหารมีรูปสลักลอยตัวของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ประทับนั่งทั้งสองข้าง หลังกำแพงเป็นห้อง Great Court ของรามเสสที่ 2 มีห้องบูชาเทพอะมอนราและครอบครัว และถูกประดับด้วยเสาคู่เรียงราย  เดิมทีบริเวณนี้ถูกทิ้งร้างและมีดินทรายทับถมมานานหลายศตวรรษ ผู้คนไม่ได้ให้ความสำคัญ จึงมีชาวมุสลิมเข้ามาอยู่อาศัยหุงหาอาหารก่อไฟในห้องหับของวิหาร ก่อให้เกิดเขม่าดำบนเพดานของวิหาร ต่อมาได้มีการสร้างมัสยิดทับอยู่ด้านบนด้วยความไม่รู้ว่าข้างล่างคือเขตวิหาร จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1885 จึงได้มีการเคลื่อนย้ายคนออกไป แต่มัสยิดนั้นย้ายไม่ได้จนถึงถึงปัจจุบันนี้
วิหารคาร์นัก (Great Temple of Karnak) : มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดและสวยงามที่สุดของอียิปต์
 มหาวิหารคาร์นัก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลักซอร์ 3 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่เทพเจ้าอะมอนรา (สุริยะเทพ) และเพื่อเป็นสถานที่จัดพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อของอียิปต์โบราณ  คาร์นักเป็นชื่อหมู่บ้านของเทพอะมอน เดิมชื่อเมืองวาเซ็ต แล้วต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนครธีบส์ เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรไอยคุปต์มาตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 11 จนถึงราชวงศ์ที่ 21 รวมเวลานับ 1,000 ปี (2120-1085 ปีก่อนคริสตกาล) และกลับมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งเป็นเวลา 50 ปี ในราชวงศ์ที่ 25 (716-666 ปีก่อนคริศตกาล)
วิหารคาร์นักสร้างโดยฟาโรห์เซซอสตริสที่1 ( Sesostris I ) และอีกหลายพระองค์ต่อมา ซึ่งอยู่ในสมัยยุคกลาง หลักฐานเก่าแก่ที่สุดอยู่ในหมู่วิหารของเทพอะมอนรา คือห้องบูชาและห้องแท่นบูชาเรือศักดิ์สิทธิ์ของเทพอะมอนรา ที่สร้างโดยฟาโรห์เซซอสตริสที่ 1 (Sesostris I) ต่อมาได้รับการต่อเติมปฏิสังขรณ์ขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆทุกยุค วิหารแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของชาวอียิปต์โบราณ เทพเจ้าอะมอนราก็เป็นสุริยะเทพอันยิ่งใหญ่และเป็นเทพประจำเมืองนี้มาโดยตลอด
ช่วงราชวงศ์ที่ 18 - 20 มีการบูรณะวิหารแห่งนี้มากที่สุด และบูรณะต่อเนื่องมาจนถึงยุคโรมันเข้ามาครอบครอง จนกระทั้งกลายเป็นวิหารที่มีอาคารมากมายกว้างขวางและใหญ่โตที่สุดในโลก วิหารคาร์นักแบ่งได้ 3 ส่วน คือ วิหารเทพอะมอนรา อยู่ตรงกลาง ประกอบด้วยหมู่สถาปัตตยกรรมของเหล่าฟาโรห์หลายยุค ส่วนที่สองอยู่ทางทิศเหนือ คือวิหารเทพมอนตู (Montu) เทพองค์นี้เคยเป็นเทพประจำถิ่นนี้มาก่อนเป็นสัญลักษณ์แห่งการรบของฟาโรห์และเทวีมะอัต(Maat) ส่วนที่สามคือ วิหารเทวีมัต (Mut) ทางด้านใต้ของวิหารอะมอนรา มีทางเชื่อมต่อถึงกันสองข้างทางประกอบด้วยสฟิงซ์กัวแกะนั่งเฝ้าตลอดทาง ด้วย สองข้างทางเข้าสู่กำแพงชั้นที่ 1 ประดับด้วยสฟิงซ์หัวแกะ ส่วนต้นทางมีเสาโอเบลิสก์ขนาดเล็กของฟาโรห์เซติที่ 2 ฟาโรห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 19 ตั้งอยู่ ความหมายของเสาโอเบลิสก์ก็คือชีวิตรุ่งโรจน์และความสว่าง เพื่อบูชาสรรเสริญเทพเจ้ารา ก่อนเข้ากำแพงชั้นที่ 2 มีรูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ยืนเฝ้าสองข้าง และมีเสาขนาดมหึมาใหญ่กว่าทุกที่ในอียิปต์ แกะสกัดจากหินทรายเป็นท่อนต่อกัน รอบเสาประกอบด้วยภาพแกะสลัก เป็นรูปภารกิจของฟาโรห์ทั้งเรื่องศาสนาและเรื่องสงคราม ระหว่างกำแพงชั้นที่ 3 และชันที่ 4 เรียกว่าเซ็นทรัลคอร์ต (Central Court) เป็นของตระกูลธุตโมซิสแห่งราชวงศ์ที่ 18 คือธุสโมซิสที่ 1 ผู้พ่อ ธุสโมซิสที่ 2 ผู้ลูก และธุสโมซิสที่ 3 ผู้หลาน ได้สร้างเสาโอเบลิสก์ตั้งไว้บริเวณนี้ 4 ต้น แต่ปัจจุบันเหลือแค่ต้นเดียว เป็นของธุสโมซิสที่ 1 สร้างด้วยหินแกรนิตสีชมพูที่เอามาจากเมืองอัสวาน (Aswan) ระหว่างกำแพงชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ก็ยังเป็นผลงานของตระกูลธุสโมซิส มีเสาแท่งสี่เหลี่ยมตั้งคู่ ทำด้วยหินแกรนิตสีชมพูและแกะสลักอย่างประณีต นับว่าเป็นสุดยอดงานฝีมือแกะสลักของช่างสมัยนั้น และเป็นสัญลักษณ์ของสองอาณาจักรที่ฟาโรห์แห่งราชวงศ์นี้ปกครองอยู่คือ เสารูปดอกปาปิรัสอันหมายถึงอาณาจักรล่าง (Lower Egypt) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนอีกเสาวางคู่กันแต่อยู่ทางทิศใต้ถูกสลักเป็นรูปดอกลินลี่ (Lily) ที่สวยงามหมายถึงอาณาจักบน (Upper Egypt) บริเวณที่หัวมุมของสระน้ำใกล้กับซากเสาโอเบลิสก์ มีอนุสาวรีย์รูปแมลงตัวสแค-รับ (Scarab) ซึ่งเป็นแมลงนำโชค หากจะอธิฐานขอพรในสิ่งที่ดีๆ ให้ดินวนถึง 7 รอบ ตัวแมลงที่ว่าคือลักษณะคล้ายตัวปีกแข็ง แม้ว่ามันจะอยู่ตามใต้ก้อนหินหรือท่อนไม้นานๆ ก็ไม่ตาย ซึ่งหมายถึงการมีอายุยืน ชาวอียิปต์โบราณจึงใช้เครื่องรางหมายถึงการมีอายุยืนเป็นเครื่องรางที่เทียบเท่ากับเทพเจ้าเคปริ (Khephri)